วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

การเผยแพร่สารสนเทศ

                การเผยแพร่สารสนเทศ (Information dissemination) เป็นช่องทางสำคัญในการสื่อเพื่อเผยแพร่สารสนเทศจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง เช่น จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน จากสถาบันบริการสารสนเทศไปยังผู้ใช้ เป็นต้น สารสนเทศที่เผยแพร่อาจอยู่ในรูปของข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพ มัลติมิเดีย และอาจบันทึกไว้บนกระดาษ สื่อโสตทัศน์ สื่อแม่เหล็ก หรือสื่อออปติก
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในการเผยแพร่สารสนเทศ
                ปัจจุบันการเผยแพร่สารสนเทศทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ยืดหยุ่นและประหยัด เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการเผยแพร่สารสนเทศทั้งในระหว่างบุคคล ไปสู่กลุ่มผู้ใช้ หรือแก่สาธารณะโดยอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล ภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงานโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
                บริการที่สำคัญบนอินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้ในการเผยแพร่สารสนเทศอย่างแพร่หลายนั้น คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล ทำให้สามารถจัดส่งสารสนเทศในรูปอิเล็กทรอนิกส์ไปถึงผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างสะดวก กลุ่มสนทนาทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสนทนาร่วมกันในกลุ่มสมาชิกในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งกระดานสนทนา (web board) เป็นกระดานสนทนาในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง แต่เปิดกว้างให้กับสารธารณะชน และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือ (web) ซึ่งเป็นการบริการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซท์ (hypertext) และจัดเป็นบริการสำคัญที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุด
                ดังนั้น หากพิจารณาบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการเผยแพร่สารสนเทศแล้ว อาจจำแนกบทบาทดังกล่าวออกเป็นด้าน คือ การเป็นช่องทางในการเผยแพร่สารสนเทศ และการขยายขอบเขตของทรัพยากรสารสนเทศ จากเดิมที่อยู่ในรูปกระดาษ สื่อโสตทัศน์ประเภทต่างๆ ไปอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิทัล
                เครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตหรือเวิลด์ไวด์เว็บเข้ามาเป็นช่องทางสำคัญในการเผยแพร่สารสนเทศอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่สารสนเทศทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น มีการเปิดบริการให้ผู้ใช้ค้นแคตาล็อกของห้องสมุดผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถค้นหาทรัพยากรสาสรสนเทศในสถาบันบริการสารสนเทศ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สถาบัน และเป็นบริการที่เผยแพร่ไปยังระดับภูมิภาคและสากลได้ตลอดเวลา หรือการเผยแพร่สารสนเทศทันสมัยในรูปจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังสมาชิกหรือผู้สนใจทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน อาจกล่าวได้ว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญต่อการเผยแพร่สารสนเทศจนอาจจัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสถาบันบริการสารสนเทศในยุคปัจจุบัน
                ยิ่งกว่านั้น ยังเกิดการผลิตและการตีพิมพ์สารสนเทศในรูปลักษณ์ต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ เกิดสิ่งพิมพ์ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อดิจิทัล หรือที่เรียกกระบวนการดังกล่าวว่าการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยสิ่งพิมพ์เหล่านี้อาจเผยแพร่ทั้งในรูปของกระดาษและ/หรืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจอยู่ในรูปดิจิทัลหรืออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น สิ่งพิมพ์หรือเอกสารเหล่านี้ทวีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีคุณภาพแตกต่างกันไป และมีทั้งเผยแพร่แบบให้เปล่าและคิดมูลค่าบริการเผยแพร่สารสนเทศจึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะสิ่งพิมพ์จำนวนมาก เช่นวารสาร เอกสาร อ้างอิงนั้นเผยแพร่ในรูปดิจิทัล จึงจำเป็นต้องปรับปรุงลักษณะการให้บริการ โดยมีการรวบรวมสารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มปริมาณ และต้องมีวิธีการในการให้บริการที่หลากหลายด้วย ตัวอย่างเช่น เกิดบริการหน้าสารบัญวารสารและบริการสารสนเทศทันสมัยที่จัดทำเป็นเอกสารหรือวารสารอิเล็กทรอนิกส์และเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต บริการเหล่านี้มีทั้งที่จัดทำบุคคล องค์การ สมาคมวิชาชีพ
การเผยแพร่สารสนเทศในวงวิชาการที่สำคัญ
                บริการเผยแพร่สารสนเทศในวงวิชาการจัดเป็นบริการสำคัญที่สถาบันบริการสารสนเทศต่างๆจัดขึ้น เพื่อช่วยเผยแพร่สารสนเทศจากแหล่งต่างๆไปยังผู้ใช้ที่มีความต้องการสารสนเทศ เช่น นักเรียนนักศึกษาต้องทำรายงาน นักวิจัย นักวิชาการและคณาจารย์ต้องการติดตามสารสนเทศใหม่ๆในหัวข้อเฉพาะตามความสนใจรูปแบบสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นผลจากการเผยแพร่สารสนเทศในวงวิชาการ ทั้งนี่อาจจำแนกประเภทของการเผยแพร่สารสนเทศในวงวิชาการตามเวลาในการตีพิมพ์และเผยแพร่ และตามแหล่งที่มา

ความหมายของห้องสมุด
                ห้องสมุด ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Library มาจากในภาษาละตินว่าLiber แปลว่า หนังสือห้องสมุด หมายถึง สถานที่รวบรวมและให้บริการวัสดุหรือทรัพยากรสารสนเทศแก่สมาชิกโดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตั้งแต่จัดหา การจัดเก็บและการให้บริการ ตลอดจนดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ ในปัจจุบันจากการพัฒนาบทบาทของเทคโนโลยีด้านต่างๆโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศมีการผลิตวัสดุสารสนเทศจำนวนมากทั้งปริมาณและรูปแบบที่หลากหลาย การค้นหาข้อมูลสารสนเทศสามารถสืบค้นได้ทั่วโลกโดยผ่านอินเตอร์เน็ต ห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลงมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บค้นหาและเผยแพร่สารสนเทศของห้องสมุดได้ทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการและข่าวสารต่างๆที่ออกมาทุกรูปแบบบริการเผยแพร่สารสนเทศ

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
                  ทรัพยากรสารสนเทศ  หรือวัสดุสารสนเทศห้องสมุด  (Library  materials)แบ่งออกเป็น  2  ประเภท คือ
                 1.วัสดุ สิ่งพิมพ์  (Printed materials)  หรือวัสดุตีพิมพ์    
                 2.วัสดุไม่ใช่สิ่งพิมพ์  (Non-printed materials)  หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์
 วัสดุสิ่งพิมพ์  (Printed materials)  หรือวัสดุตีพิมพ์
                 วัสดุสิ่งพิมพ์  คือ  วัสดุที่ให้ความรู้ที่มีการพิมพ์ขึ้นมาเพื่อการศึกษาค้นคว้าโดยอาศัยการอ่าน ดังนี้ 
                 1.1 หนังสือ  (Book)   คือสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นรูปเล่ม  อาจมีเล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบมุ่งให้ ความรู้และความ  เพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน 
                 1.2   วารสาร  (Periodicals) คือ  สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดระยะเวลาการออกแน่นอนและต่อเนื่อง เช่น ออกเป็นรายสัปดาห์  รายปักษ์ (15วัน)  รายเดือน  รายครึ่งปี                 
                 1.3หนังสือพิมพ์  (Newspaper)  คือสิ่งพิมพ์ที่ออกรายวันและทุกวัน  เสนอข่าว  เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ  นอกจากนี้ยังมีบทความและข้อคิดเห็นต่างๆเรื่อง  การเมือง  เศรษฐกิจ กีฬา  การศึกษาฯลฯ
                 1.4  กฤตภาค  (Clippings) คือ ข่าวสาร บทความ สำคัญ ๆ และน่าสนใจ โดยตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ นำมาผนึกลงบนกระดาษ บอกแหล่งที่มา เช่น ชื่อสิ่งพิมพ์ เลขหน้า วัน เดือน ปี นำมาให้หัวเรื่อง จัดเก็บเข้าแฟ้ม โดยเรียงสำดับตามตัวอักษร เก็บไว้ในตู้จุลสาร เพื่อนำมาใช้ค้นคว้า อ้างอิง
                 1.5  จุลสาร  (Pamphlets) คือสิ่งพิมพ์ที่มีรูปเล่มขนาดเล็กมีจำนวนหน้าไม่เกิน  60  หน้า  เนื้อหาส่วนมากจบในเล่ม  จัดทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือหน่วยราชการ  องค์การ  สถาบันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้นๆ   มักเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้เปล่าหรือจำหน่ายในราคาถูก
วัสดุไม่ใช่สิ่งพิมพ์ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์ 
                  คือวัสดุที่ให้ความรู้ความเพลิดเพลินโดยใช้เสียงและภาพเป็นหลัก  เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่ายและจำได้นาน  เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง  โสตทัศนวัสดุแบ่งได้ตามการใช้ มี 3 ประเภทคือ
                  2.1ทัศนวัสดุ    คือวัสดุที่ถ่ายทอดความรู้โดยการดู เช่น  ลูกโลก  หุ่นจำลอง  ของตัวอย่าง
                  2.2โสตวัสดุ    คือวัสดุที่ถ่ายทอดความรู้โดยการฟัง  เช่น   แผ่นเสียง  เทปบันทึกเสียง
                  2.3โสตทัศนวัสดุ    คือวัสดุที่ถ่ายทอดความรู้โดยการดูและฟัง  เช่น  วีดิทัศน์  ภาพยนตร์ 
ระดับงานบริการเผยแพร่สารสนเทศ
         ระดับต้น
             1.เตรียมหนังสืออ้างอิงและฐานข้อมูลสารสนเทศ
             2.บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าสำหรับคำตอบที่ไม่ซับซ้อน
             3.บริการชี้แนะผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศที่ต้องการ
             4.แนะนำรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศและบริการพื้นฐาน
             5.แนะนำแหล่งสารสนเทศภายนอก
             6.จัดหาวารสารใหม่ๆ ตามคำร้องขอ
             7.มีความรอบรู้เกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศในชุมชน
          ระดับกลาง
             1.รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นรายงานวิจัย
             2.ทำการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้
             3.จัดเตรียมบริการบรรณานุกรม
             4.บริการสืบค้นสารสนเทศตามที่ผู้ใช้ร้องขอ
             5.บริการแจ้งรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศใหม่ให้แก่ผู้ใช้
             6.มีความรอบรู้แหล่งสารสนเทศในสาขาเดียวกัน
             7.มีความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
           ระดับสูง
             1.รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์สารสนเทศที่ตรงกับ
             2.ความต้องการผู้ใช้ และจัดทำสาระสังเขป
             3.ให้บริการรวบรวมบรรณานุกรม
             4.บริการสืบค้นสารสนเทศอย่างกว้างขวาง
             5.จัดทำสาระสังเขปทรัพยากรใหม่ในห้องสมุด
             6.บริการแปลบทความ
             7.จัดตั้งทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำปรึกษาและสืบค้น
             8.สารสนเทศให้บริการข่าวสารทันสมัยแก่ผู้ใช้เฉพาะบุคคล
             9.รอบรู้แหล่งสารสนเทศ โดยเฉพาะสารสนเทศทีไม่มีการเผยแพร่

ประเภทของบริการเผยแพร่สารสนเทศ
                               1. บริการอ้างอิงหรือบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (Reference Services)
  บริการอ้างอิงระดับพื้นฐาน
บริการอ้างอิงในระดับลึก

2. บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Services)
2.1 บริการหมุนเวียนวารสาร (Routing service)
 2.2 บริการเผยแพร่สารสนเทศเฉพาะบุคคล    
(Selective Dissemination of Information : SDI)

ความสำคัญของบริการ
                    1.ทำให้ติดตามความก้าวหน้าในสาขาวิชาที่สนใจได้ทันเวลา          
2.ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการอ่านสารสนเทศทั้งหมด
         3.ทำให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการทำงาน

                                             ขั้นตอนการให้บริการ SDI

                                        1. รวบรวมข้อมูลผู้ใช้แต่ละคนใน User Profile
                                        2. เปรียบเทียบความต้องการของผู้ใช้กับสารสนเทศใหม่ที่ได้รับเข้ามา
                                        3. เมื่อพบรายการที่ต้องการให้ติดต่อผู้ใช้อย่างรวดเร็ว
                                        4. ประเมินผลการให้บริการว่าตรงกับความต้องการหรือไม่
                                 2.3 บริการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับใหมj(Current content)
                                 2.4 การจัดทำข่าวสารห้องสมุด (Library bulletin)
                                 2.5 การติดตามสารสนเทศใหม่ของบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์

                         3. บริการสืบค้นสารสนเทศจากแหล่งภายนอก
                                 3.1 บุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา
                                 3.2 ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศอื่น
                                 3.3 การยืมระหว่างห้องสมุด
                                 3.4 อินเทอร์เน็ต
                                 3.5 สถาบันบริการฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์
                                 3.6 บริการสารสนเทศที่จัดโดยนายหน้าค้าสารสนเทศ
                                 3.7บริการสารสนเทศที่จัดโดยนายหน้าค้าสารสนเทศ ได้แก่
                                      บริการจัดทำสาระสังเขป
                                      บริการข่าวสารทันสมัย
                                      บริการรวบรวมบรรณานุกรม
                                      บริการแปลเอกสาร
                                      บริการรวบรวมสารสนเทศเพื่อใช้ในการวิจัย
                                      บริการสืบค้นสารสนเทศ
                                      บริการจัดส่งเอกสารฉบับเต็ม
                                            3.7 บริการส่งเอกสาร (Document delivery services
                          4. บริการอื่นๆ
                                 4.1 บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
                                 4.2 บริการฝึกอบรมการสืบค้นฐานข้อมูล (User training)
                                 4.3 บริการสาระสังเขป (Abstract)
                                 4.4 บริการรวมรวมบรรณานุกรม
                                 4.5 บริการสารสนเทศสำเร็จรูป (Repackaged information or Information Consolidation or Information Packaging )
                                 4.6 บริการแปล (Translation) ทำได้ดังนี้
                         -ติดต่อว่าจ้างบริษัทหรือหน่วยงานภายนอกที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการแปล
                         -บรรณารักษ์ทำหน้าที่แปลเอง
                         -การใช้บริการจากสถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมและให้บริการเอกสารงานแปล
                                            4.7 บริการเอกสารจดหมายเหตุ (Archives) วิธีส่งเสริมการใช้บริการสารสนเทศ
                                                 1. การจัดทำคู่มือห้องสมุด (Library brochures)
                                      2. การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด (Library orientation)
                                      3. จัดนิทรรศการ
                                      4. จัดกิจกรรม เช่น สัปดาห์ห้องสมุด








                                                                                 ที่มา : http://urll.us/W6boUL  
                                                                                              สืบค้น 21 กันยายน 2557